ส่องบทบาทและความสำคัญของ Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิต
1 September 2022
กสายตากำลังจับจ้องไปที่ Metaverse ว่าจะก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างไรต่อชีวิตคนเรา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็นเรียลเซ็กเตอร์อย่างอุตสาหกรรมการผลิต หรือโรงงานต่าง ๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมบันเทิงที่พอจะเป็นภาพชัดเจน และมักถูกหยิบยกเป็นกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและความสำคัญของ Metaverse อยู่บ่อยครั้ง
งนี้ Metaverse คือ เครือข่ายของโลกเสมือนจริง 3 มิติ ที่เน้นการเชื่อมต่อทางสังคม เป็นการผสานโลกเสมือนจริงคู่ขนานไปกับโลกจริงทางกายภาพ โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างตัวตนและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แทบทุกกิจกรรมในโลกเสมือนดังกล่าว
เพื่อช่วยให้เราเข้าใจว่าคำว่า "Metaverse" หรือ "จักรวาลนฤมิต" มากขึ้น ลองเปลี่ยนคำว่า Metaverse ในประโยคด้วยคำว่า Cyberspace จะพบว่ามากกว่า 90% ความหมายจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก นั่นเป็นเพราะคำที่กำลังเป็นกระแสนิยมในขณะนี้ ไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างในวิธีที่เราโต้ตอบกับเทคโนโลยีนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว เทคโนโลยีที่ประกอบเป็น Metaverse อาจรวมถึงความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality; VR) ซึ่งมีลักษณะโดยโลกเสมือนจริงที่ยังคงมีอยู่ต่อไปแม้ในขณะที่คุณไม่ได้เล่น เช่นเดียวกับความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality; AR) ที่ผสมผสานแง่มุมของโลกดิจิทัลและโลกทางกายภาพ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงพื้นที่เหล่านั้นผ่าน VR หรือ AR เท่านั้น โลกเสมือนจริง เช่น มุมมองต่าง ๆ ของ Fortnite (หนึ่งในเกมยอดนิยมของนินเทนโด) ที่เข้าถึงได้ผ่านพีซี เกมคอนโซล และแม้แต่โทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ Metaverse อาจถูกแปลความหมายเป็น "เศรษฐกิจดิจิทัล" ที่ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้าง ซื้อ และขายสินค้าได้ ช่วยให้เรานำสิ่งของเสมือนจริงต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าหรือรถยนต์ จากแพลตฟอร์มหนึ่งไปยังอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ขณะนี้ แพลตฟอร์มส่วนใหญ่มีตัวตนเสมือนจริง รูปจำลอง และสินค้าคงคลังที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มเดียว แต่ Metaverse อาจอนุญาตให้เราสร้างตัวตนที่เราสามารถพกพาไปได้ทุกที่ ง่ายดายเหมือนกับที่เราสามารถคัดลอกรูปโปรไฟล์ของเราจากโซเชียลมีเดียหนึ่งไปยังโซเซียลมีเดียอื่น ๆ
ด้านบทบาทและความสำคัญของ Metaverse ต่อโลกอุตสาหกรรม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า สามารถนำ Metaverse ไปใช้กับภาคการผลิตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การออกแบบสินค้า ด้วยการสร้างต้นแบบ 3 มิติในโลกเสมือน ทดลองเปลี่ยนรูปแบบหรือชิ้นส่วนแบบเรียลไทม์ โดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทุกสาขาของบริษัท แม้จะอยู่ต่างพื้นที่หรืออยู่คนละประเทศ ก็สามารถเข้าถึงต้นแบบเสมือนได้พร้อมกัน ทำให้สามารถเสนอไอเดียและระดมความคิดเห็นได้ทันที กระทั่งเมื่อได้ต้นแบบสินค้าแล้วก็สามารถทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพ และหาจุดบกพร่อง เพื่อนำมาแก้ไขและปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบก่อนจะทำการผลิตจริง ซึ่งในขั้นตอนของการวิจัยและผลิตภัณฑ์ก็มีการใช้ประโยชน์จาก Metaverse ด้วยวิธีการนี้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ Metaverse ยังมีบทบาทในการจัดซื้อจัดหา ด้วยการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนผ่านโลกเสมือนจริงนี้ พร้อมแบ่งปันต้นแบบ 3 มิติ เพื่อสรรหาผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีศักยภาพและความสามารถในการผลิตที่ตรงตามความต้องการ ขณะที่การเคลมชิ้นส่วน ก็อาศัยชิ้นส่วนจำลอง 3 มิติ และความร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อย เพื่อระบุชิ้นส่วนที่อาจเป็นปัญหา เป็นต้น
ด้านการผลิต สามารถใช้ Metaverse สร้างโรงงานเสมือน ทดลองวางเลย์เอาท์สายพานการผลิต ทดลองผลิต และปรับแต่งไลน์การผลิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด กระทั่งใช้การผลิตในโลกเสมือนเพื่อฝึกสอนพนักงานใหม่ให้มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ก่อนลงมือทำงานในไลน์ผลิตจริง รวมถึงการควบคุมผ่านเครื่องจักรเสมือนที่เชื่อมกับเครื่องจักรจริง เพื่อความสะดวกสบาย ลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในโรงงาน ตลอดจนการซ่อมบำรุงระยะไกลผ่าน Metaverse ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเดินทาง โดยเฉพาะกรณีที่ช่างซ่อมบำรุงต้องเดินทางมาจากต่างประเทศ
ดท้าย บทบาทและความสำคัญของ Metaverse ที่มีต่ออุตสาหกรรมการผลิตก็คือ ช่วยในการบริหารคลังสินค้า ด้วยการสร้างคลังสินค้าเสมือน เพื่อออกแบบและทดลองจัดวางสินค้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถพิจารณาถึงความเหมาะสมและความลื่นไหลของโลจิสติกส์ภายในคลังสินค้าได้ว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ทำให้ประหยัดกำลังคน ไม่ต้องเสียเวลาจัดวางสินค้าใหม่อยู่บ่อยครั้ง ขณะเดียวกันก็อาศัยข้อมูลในคลังสินค้าเสมือนเพื่อเข้าถึงสินค้าที่อยูในคลังสินค้าในโลกจริงได้ด้วย โดยพนักงานสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตำแหน่งที่จัดเก็บ จำนวนสินค้าคงคลัง ตลอดจนคำสั่งซื้อแบบเรียลไทม์
ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการรายใหญ่ของโลกในอุตสาหกรรมการผลิตได้เริ่มทดลองนำเทคโนโลยี Metaverse มาใช้บ้างแล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กระนั้น แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิตยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ตามการพัฒนาของเทคโนโลยีนี้ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คำแนะนำเพิ่มที่จะทำให้การลงทุนนำ Metaverse มาใช้ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตให้ประสบความสำเร็จ นอกจากเงินลงทุนและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานแล้ว ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เหมาะสมและลงตัวด้วย โดยผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการศึกษาและเตรียมความพร้อมให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจของผู้มีส่วนร่วม
ที่สำคัญ การลงทุนนำเทคโนโลยี Metaverse มาใช้ ผู้ประกอบการอย่าเพิ่งผลีผลาม โดยควรพิจารณาทยอยลงทุนในส่วนที่ให้ความคุ้มค่าต่อการดำเนินธุรกิจของตนเองก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโดยรวม และลดเม็ดเงินลงทุนให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้โดยไม่เสี่ยงจนเกินไป
หากคุณผู้อ่านต้องการติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับ Metaverse ตลอดจนประเด็นน่าสนใจอื่น ๆ ในโลกอุตสาหกรรม ต้องไม่พลาด ME Blogs ในครั้งต่อไปครับ รวมถึงเตรียมพบกับ NEPCON Thailand 2023 งานแสดงเทคโนโลยีเพื่อการประกอบ การวัด และการทดสอบคุณภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อันดับ 1 แห่งอาเซียนส่วนหนึ่งของงาน Manufacturing Expo 2023 ในวันที่ 21-24 มิถุนายน 2566 ที่ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ