รู้เท่าทันแนวโน้ม "ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ" ในอุตสาหกรรมการผลิตยุคดิจิทัล
10 February 2023
- แม้ในปัจจุบันโรงงานอัจฉริยะจะได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ด้วยการเชื่อมต่อถึงกันของกระบวนการผลิตผ่านดิจิทัล ผู้ผลิตจึงต้องระมัดระวังการถูกโจมตีทางไซเบอร์เป็นพิเศษ
- โดยเฉพาะผู้ผลิตในอุตสาหกรรมพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่าชะล่าใจ เพราะกำลังตกเป็นเป้าหมายของโจรไซเบอร์ที่เล็งเห็นโอกาสจากการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
- ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศไม่ใช่เรื่องที่ผู้ผลิตจะเพิกเฉยหรือมองข้ามได้ จึงควรลงทุนในโปรแกรมการจัดการภัยไซเบอร์แบบองค์รวมที่ครอบคลุมความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร
ในโลกที่ดิจิทัลก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างสูงทั้งในแง่ของการสร้างสรรค์และทำลาย "ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ" (Information Security) เป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังมากกว่าเคย ลองดูกันว่าอะไรบ้างที่จะเป็นแนวโน้มที่น่าจับตา เพื่อที่บรรดาผู้ประกอบการในบรรดาอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ จะสามารถรับมือและวางแผนเพื่อเสริมปราการด้านนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ดีลอยท์ทำการศึกษาอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ในการผลิตและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องพบว่า 48% ของผู้ผลิตที่ทำแบบสำรวจระบุว่าความเสี่ยงในการปฏิบัติงานซึ่งรวมถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นอันตรายที่ใหญ่ที่สุดในการริเริ่มโรงงานอัจฉริยะ ด้วยความเชื่อมโยงกันของเทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ ภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่แพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากสภาพแวดล้อมของโรงงานอัจฉริยะทำให้ผู้คน เทคโนโลยี กระบวนการผลิตทางกายภาพต่าง ๆ และทรัพย์สินทางปัญญาต่างตกอยู่ในความเสี่ยง
ไม่เพียงเท่านี้ สิ่งที่น่ากังวลคือจะมีการโจมตีบริษัทผู้ผลิตพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพิ่มขึ้น โดยอาชญากรจะมุ่งไปที่จุดอ่อนต่าง ๆ เช่น ช่องโหว่ของ IoT (Internet of Things) และเทคโนโลยีด้านการปฏิบัติการ (OT)
เมื่อมีการให้ความสำคัญกับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น แรงจูงใจในการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เราจะได้เห็นการหลอกลวงมากมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน รวมถึงอีเมลหรือข้อความหลอกล่อเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่มีชื่อเสียงในระดับไฮเอนด์ ตลอดจนความพยายามในการจารกรรมเทคโนโลยีสีเขียวหรือนโยบายด้านพลังงาน ควบคู่ไปกับการแฮ็กข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังก้าวหน้าและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย การโจมตีรูปแบบใหม่ก็จะเกิดขึ้นเช่นกัน ความเสี่ยงจะขยายไปสู่ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า โดยแฮ็กเกอร์กำลังเรียนรู้วิธีควบคุมยานพาหนะและดักฟังการสนทนาผ่านไมโครโฟนที่ติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากขึ้นเช่นกัน ผู้ผลิตจึงต้องทุ่มงบการวิจัยและพัฒนาเพื่อแสวงหาโซลูชั่นในการป้องกันความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งหากรายใดทำสำเร็จ ก็จะถือเป็นแต้มต่อและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้เหนือคู่แข่ง
ที่สำคัญ เนื่องจากผู้ผลิตทั่วโลกได้ก้าวสู่โมเดลโรงงานอัจฉริยะมากขึ้น จึงคาดว่าความเสี่ยงทางไซเบอร์ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ผลิตหลายรายยังเตรียมความพร้อมในการป้องกันได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร และไม่เพียงแต่ภัยคุกคามในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามและช่องโหว่ใหม่ ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ซึ่งความเสี่ยงนี้ยังขยายไปสู่ IoT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตต้องพึ่งพามากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ 5G ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องค้นหาช่องโหว่ทั้งหมดของตัวเองและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้ เพราะการรักษาความปลอดภัยของ IoT ที่อ่อนแอ อาจเป็นเหตุให้ผู้คุกคามที่จ้องจะเจาะเครือข่าย 5G หรือทะลวงไปยังเซิร์ฟเวอร์ภายในทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นผู้ผลิตควรลงทุนในโปรแกรมการจัดการภัยไซเบอร์แบบองค์รวมที่ครอบคลุมความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร เพื่อระบุ ป้องกัน ตอบสนอง และกู้คืนจากการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ
ผู้ประกอบการที่ต้องการความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ สามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้ในงาน “แอสเซมบลี แอนด์ ออโตเมชั่น เทคโนโลยี 2023” โดยอาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ เพื่อซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2566 นี้ ณ ไบเทค บางนา เพราะในงานจะมีผู้รับออกแบบระบบหรือ System Integrator (SI) และผู้เชี่ยวชาญในวงการระบบอัตโนมัติในโรงงานมาร่วมให้คำปรึกษาด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมการผลิต โปรดติดตาม ME Blog อย่างต่อเนื่อง และเตรียมอัพเดทเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมสนับสนุนผ่านระบบและโซลูชั่นอัตโนมัติที่ที่ครบครันที่สุดในอาเซียนได้ในงาน “แอสเซมบลี แอนด์ ออโตเมชั่น เทคโนโลยี 2023”