Automotive Cybersecurity หัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ตอบโจทย์การขับขี่ที่ปลอดภัยในทุกมิติ
17 May 2023
Automotive Cybersecurity ให้ความสำคัญกับการขับขี่ที่ปลอดภัยทั้งในแง่ของการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวไม่ให้ถูกโจรกรรมจากการเชื่อมต่อ และการป้องกันไม่ให้ระบบรักษาความปลอดภัยของรถเข้าถึงและทำลายได้ง่าย
อุตสาหกรรมยานยนต์มีห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนและหลากหลาย จึงต้องดำเนินการด้าน Automotive Cybersecurity ทั่วทั้งระบบ
รถยนต์แห่งอนาคตจะเชื่อมต่อ รวบรวม วิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูลจากผู้ขับขี่มากขึ้นกว่าที่เคย ซึ่งจะทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของผู้ขับขี่และการขับขี่ที่ปลอดภัย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับเทคโนยีที่เกี่ยวข้องกับ Automotive Cybersecurity อย่างจริงจัง
ในปัจจุบันยานพาหนะจำนวนมากบนท้องถนน ไม่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงอาจขาดคุณสมบัติดังกล่าว อีกทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยยังเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ขณะเดียวกันการที่คนขับและผู้โดยสารโต้ตอบกับระบบต่าง ๆ ของรถ เช่น ระบบสาระบันเทิงหรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การคลิกลิงก์ที่เป็นอันตรายหรือการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ถูกโจมตี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยโดยไม่ได้ตั้งใจ การปรับเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในระบบเดิมเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุนี้ Automotive Cybersecurity หรือ "การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยานยนต์" จึงมีความสำคัญ เพราะเป็นแนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อปกป้องยานพาหนะและระบบที่เชื่อมต่อจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยการเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นและความซับซ้อนของยานพาหนะสมัยใหม่ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงกลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
สิ่งที่น่ากังวลคือการเชื่อมต่อในรถยนต์ยังขาดความปลอดภัยที่จำเป็นเหมือนที่เราเห็นในอุปกรณ์อัจฉริยะอื่น ๆ ระบบของยานพาหนะที่หละหลวมสามารถเข้าถึงได้ภายใน 15 วินาทีเท่านั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นอันตรายหากแฮ็กเกอร์ตัดสินใจเข้าถึงยานพาหนะจากระยะไกล กระทั่งเข้าถึงหรือลบอุปกรณ์ที่สำคัญด้านความปลอดภัยต่าง ๆ
นอกจากนี้ เมื่อการเก็บรวบข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะมีความเข้มข้นมากขึ้น ความเสี่ยงที่มีต่อข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และอาจถูกโจรกรรมดังกล่าวเพื่อนำไปจำหน่ายหรือใช้เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่พึงประสงค์และเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้ขับขี่
ดังนั้นคำถามที่ชวนหาคำตอบคือ ผู้ผลิตยานยนต์จะเดินหน้าลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลในการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเทคโนโลยียานพาหนะ หรืออาจระงับโครงการอัตโนมัติขั้นสูงเหล่านี้ไว้จนกว่าจะเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าโดยถ้วนหน้าให้ได้เสียก่อน
ขณะที่ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอีกระดับคือ "การรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน" เนื่องจากยานพาหนะเป็นระบบที่ซับซ้อน เพราะประกอบด้วยส่วนประกอบและซอฟต์แวร์จำนวนมากจากซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกัน มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จำเป็นต้องดำเนินการทั่วทั้งซัพพลายเชน
ทั้งนี้ ตลาดความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยานยนต์ทั่วโลกซึ่งมีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2569 โดยมีเอเชียแปซิฟิคครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด
จากข้อมูลของ McKinsey ระบุว่าภายในปี 2573 ประมาณ 95% ของรถยนต์ใหม่ที่จำหน่ายทั่วโลกจะเชื่อมต่อกัน เพิ่มขึ้นจากประมาณ 50% ในปัจจุบัน Automotive Cybersecurity จึงควรเป็นหนึ่งในประเด็นที่ผู้ผลิตควรให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อติดตั้งเทคโนโลยีนี้มาพร้อมกับรถยนต์ตั้งแต่แรก
หากคุณผู้อ่านต้องการอัพเดทความเคลื่อนไหวล่าสุด และประเด็นน่าสนใจอื่น ๆ เกี่ยวกับแวดวงยานยนต์ โปรดติดตาม ME Blog อย่างต่อเนื่อง รวมถึงขอเชิญร่วมงาน "ออโตโมทีฟแมนูแฟกเจอริ่ง 2023" ศูนย์รวมทุกเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งการแปรรูปโลหะแผ่น การเชื่อม และการตรวจวัด ตลอดจนผู้รับช่วงการผลิตชิ้นส่วน ที่นำเสนอโดยผู้ให้บริการกว่า 250 แบรนด์จากหลายประเทศ พร้อมองค์ความรู้ต่าง ๆ แบบเจาะลึกในงานสัมมนาที่จัดขึ้น แล้วพบกันวันที่ 21-24 มิถุนายน 2566 ณ ไบเทค บางนา